กระเบื้องลายไม้เป็นตัวเลือกการปูพื้นยอดนิยมที่ให้ความอบอุ่นและสวยงามของไม้ธรรมชาติ พร้อมคุณสมบัติความทนทานและการดูแลรักษาที่ต่ำของกระเบื้องเซรามิกหรือพอร์ซเลน ข้อดีของกระเบื้องลายไม้: ความทนทาน: กระเบื้องลายไม้แตกต่างจากไม้ธรรมชาติตรงที่ทนทานต่อความชื้น คราบสกปรก และรอยขีดข่วน จึงเหมาะสำหรับบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งและบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง ทำความสะอาดง่าย: การทำความสะอาดกระเบื้องลายไม้ทำได้ง่ายและควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดขั้นธรรมดาเท่านั้น ประหยัดค่าใช้จ่าย: เมื่อเทียบกับไม้เนื้อแข็งจริง กระเบื้องลายไม้มีราคาไม่แพงมาก ทำให้เป็นตัวเลือกที่ประหยัดงบประมาณสำหรับผู้ที่ต้องการรูปลักษณ์ของไม้เนื้อแข็งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ความอเนกประสงค์: กระเบื้องลายไม้มีสี พื้นผิว ลวดลาย และขนาดที่หลากหลาย ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถเลือกสไตล์ที่เหมาะกับรสนิยมและการตกแต่งของตนเองได้มากที่สุด
Tag: #กระเบื้อง
จะปูกระเบื้องต้องรู้อะไรบ้างนะ?
จากการทดลองปูกระเบื้องเอง 1 ตารางเมตร ทำให้มั่นใจว่าเราทำเองได้ ไม่ยากเลย คนใกล้ตัวไม่ได้ประชด….เขาอนุมัติให้เราปูพื้นกระเบื้องห้องทำงานเองจริงๆ พื้นที่ 17.5 ตารางเมตร เลือกซื้อกระเบื้องมาไว้แล้ว ครั้งนี้ศึกษาค้นหาวิธีการปูกระเบื้องที่ถูกต้องก่อนลงมือทำจริง วิธีการปูกระเบื้องมีหลายวิธี วิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก วิธีการปูกระเบื้องแบบซาลาเปา วิธีการปูกระเบื้องแบบปูนกาว วิธีการปูกระเบื้องแบบเปียก คือ ปูกระเบื้องหลังจากเทปูนทรายปรับระดับดีแล้ว แบบนี้แหละที่ได้เห็นช่างทำ ดูเขาทำ…คิดว่าไม่ยากนี่นา แต่ที่ผมต้องการคือ ปูพื้นแบบดิบๆ ฝังกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวกับพื้นปูน เว้นช่องว่างแต่ละแผ่นให้ห่างกันมากๆ แต่ช่างไม่ทำตามใจเรา แถมคนใกล้ตัวก็เข้าข้างช่าง. ก่อนปูกระเบื้องต้องขึงเชือกหาแนวดิ่ง และแนวฉากของกระเบื้องในแถวแรกเพื่อเป็นแนวในการปูแถวต่อๆไป แนวระนาบความลาดเอียงของพื้นต้องมีทิศทางที่ช่วยให้น้ำไหลลงท่อได้สะดวก โดยอัตราการเอียงจะอยู่ที่ 1 : 100 คือ ทุกๆ 1 เมตรจะต้องเอียงลงมา 1 เซนติเมตร เทปูนลงพื้นให้พอเหมาะปาดด้วยเกรียงหวีจนได้ในระดับที่ต้องการ ปาดปูนด้านหลังกระเบื้องปูพื้นเล็กน้อยเพื่อให้กระเบื้องปูพื้นเกาะติดกับพื้น นำกระเบื้องปูพื้นมาวางไว้บนปูนที่เตรียมไว้ระหว่างปูกระเบื้องต้องหมั่นซับทำความสะอาดน้ำปูนระวังอย่าให้จับเป็นคราบ ฝ้า อ้อ…มิน่าเห็นช่างเตรียมฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ ไว้เช็ดทำความสะอาดกระเบื้อง เทคนิคการปูกระเบื้อง 1.ป้ายกาวซีเมนต์บางส่วนลงบนพื้นด้วยเกรียงใบโพธิ์หรือเกรียงหวีและใช้เกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์ให้เป็นทางยาวบนพื้นผิวประมาณ 1 ถึง 2 ตร.ม แล้วเกลี่ยให้ทั่วความหนาตามร่องของร่องเกรียงหวีที่ใช้เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณกาวซีเมนต์ที่ใช้ให้สม่ำเสมอ – ความหนาของกาวซีเมนต์ที่เหมาะสม ควรหนา 2 ถึง 10 มม. – ความหนาของกาวเหลวที่เหมาะสม ควนหนา 0.7 ถึง 4 […]